แฟ้มสะสมผลงานวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16
วันที่19 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
เพื่อน สอบสอนอีก 2 กลุ่มที่เหลือ
เรื่อง กล้วย
เรื่อง ข้าวโพด
วันที่19 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สรุปวิจัย
วิจัยเรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ปริญญานิพนธ์
ของ
ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ตุลาคม 2551
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ความมุ่งหมายของการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
ดังนี้
1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมของเด็กปฐมวัย
ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รายด้านของเด็กปฐมวัย
ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
สรุปการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีจุดมุ่งหมายในการวิจัย
คือ เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
โดยรวมและรายด้าน ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
ขอบเขตการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย
– หญิงอายุ
5 – 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่
2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านสามแยก
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 15 คนได้มาด้วยการคัดเลือกแบบ
เจาะจงจากห้องที่ผู้วิจัยเป็นครูประจำชั้น ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
ตัวแปรจัดกระทำ
ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ตัวแปรตาม
ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ก
ปฐมวัย จำแนกรายด้าน 4 ด้าน คือ ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการเปรียบเทียบ
ทักษะการรู้
ค่าจำนวน 1
– 10 ทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน 1 –
10
การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและแบบประเมินเชิง
ปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นจำนวน 40 ข้อ ที่มีค่าความ
เชื่อมั่นทั้งฉบับ .80
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Qusai Experimental Design) ซึ่งทำการศึกษากับ
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับปฐมวัย โดยสร้างความคุ้นเคยกับเด็กเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ดำเนินการ
ทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยกับกลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลองโดยใช้แบบ
ประเมินเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมาทดสอบก่อนการจัดการเรียนรู้
แบบเด็กนักวิจัย เมื่อสิ้นสุดการทดลองผู้วิจัยได้นำแบบประเมินเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยมาทดสอบหลังการทดลอง และนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการ
ทางสถิติ เรื่อง กล้วย
เรื่อง ข้าวโพด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)