วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันที่ 27 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อาจารย์ให้นำเสนอ mind mapping ของแต่ละกลุ่ม ที่นำไปแก้ไขมาแล้ว
อาจารย์แนะนำวิธีการการเขียน mind mapping  ที่ถูกต้องและการแยกส่วนย่อยของส่วนประกอบของ mind mapping
อาจารย์ให้นำเสนอกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ 12 ข้อ มีดังนี้
  1. การนับ               คำถาม   ส้มผลเล็กมีจำนวนกี่ผล
  2. ตัวเลข               คำถาม  ให้เด็กๆ เขียนเลขฮินดูอารบิกที่มีค่าเท่ากับจำนวนส้ม
  3. การจับคู่             คำถาม  ให้เด็กๆจับคู่กล่องที่มีจำนวนส้มเท่า
  4. การจัดประเภท   คำถาม  ให้เด็กๆนำส้มที่มีเปลือกสีส้มใส่ในตะกร้า
  5. การเปรียบเทียบคำถาม  ให้เด็กๆเปรียบเทียบขนาดของส้มแต่ละประภทว่าประเภทไหนใหญ่ที่สุด
  6. การจัดลำดับ      คำถาม    ให้เด็กๆนำส้มที่เปรียบเทียบมาเรียงลำดับจากใหญ่ไปเล็ก
  7. รูปทรงและเนื้อที่ คำถาม   จากที่เด็กๆได้เห็นผลส้มเด็กๆเห็นผลเป็นรูปทรงอะไรบ้าง
  8. การวัด                 คำถาม  ส้มเขียวหวานมีน้ำหนักเท่าไร
  9. เซต                     คำถาม  ให้เด็กจัดเซตในการทำน้ำส้มคั้น
  10. เศษส่วน              คำถาม ให้เด็กๆแบ่งส้มเป็นสองส่วนที่เท่ากันส่วนหนึ่งนำไปทำน้ำส้มคั้น ก็จะเหลือส้มหนึ่งในสองส่วน
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย     คำถาม ให้เด็กเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ  คำถาม คั้นน้ำส้ม นำน้ำส้มใส่ในแม่พิมพ์หลายๆแบบแล้วให้เด็กๆสังเกตว่าปริมาณน้ำส้มเท่ากันหรือไม่

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนคร้งที่ 3
วันที่ 20 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อาจารย์ให้หาหน่วยแล้วเป็น mind  mapping  และอาจารย์ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่มเพื่อที่จะไปแก้ไขงาน

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยควรประกอบด้วยหัวข้อของ  เนื้อหาหรือทักษะ
(นิตยา ประพฤติกิจ :2541: 17-19)
  1.  การนับ ( counting ) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกเด็กควรรู้จักการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับ 1-10
  2. ตัวเลข (number )
  3. การจับคู่ (matching ) สิ่งเหมือนกัน
  4. การจัดประเภท (classification )
  5. การเปรียบเทียบ ( comparing )
  6. การจัดลำดับ (ordering )
  7. รูปทรงและเนื้อที่ (shape and space )
  8. การวัด (measurement )
  9. เซต (set )
  10. เศษส่วน (fraction)
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (patterning)
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้ารปริมาณ  (conservation )

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึการเรียนครั้งที่ 2
วันที่ 13 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อาจารย์แจกกระดาษ A4  ให้นักศึกษา โดยแผ่นหนึ่งแบ่งให้ได้ 4 ส่วนแล้วแจกกัน
อาจารย์ให้นักศึกษา วาดรูปอะไรก็ได้ที่แทนสัญลักษณ์ของตัวเอง และเขียนชื่อตัวเองใต้ภาพ
อาจารย์มีเกณฑ์ให้อยู่  3  เกณฑ์ คือ  ก่อนเที่ยง  เที่ยง   หลังเที่ยง  แล้วให้นักศึกษานำรูปที่ตัวเองวาดไปติด  มีการเปรียบเทียบว่าก่อนเที่ยงมากี่คน  เที่ยงมากี่คน  หลังเที่ยงมากี่คน


การจัดหมวดหมู่จะต้องมีเกณฑ์ในการจัด
ภาษาจะอ่านจากซ้ายไปขวา
พื้นฐานการนับจะเพิ่มทีละ 1

คณิตศาสตร์คือสิ่งที่เกี่ยวข้องชีวตประจำวันทั้งหมด
คณิตศาสตร์ สามารถบรูณาการผ่าาน 6  กิจกรรม  ได้แก่
 1. กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
 2. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
 3. กิจกรรมกลางแจ้ง 
 4. กิจกรรมเสรี
 5. กิจกรรมเกมการศึกษา
 6. กิจกรรมเสริมประสบการณ์

อาจารย์ให้ฟังเพลงเกี่ยวกับการนับ
1.เพลง พาเหรดตัวเลข
2.เพลง 1 2 3 4
3.เพลง แมลงปอ 5 ตัว

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันที่  6 เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2555
1. อาจารย์ตกลงเรื่องเวลาการเข้าเรียน  เปลี่ยนเวลาเรียน,ห้องเรียน
    อาจารย์เปลี่ยนเวลามาเป็น เข้าเรียน  12.00 น. -  15.00 น. และเรียนห้อง  224 
2.  อาจารย์ถามนักศึกษา
      1. นักศึกษาว่าวิชาคณิตศาสตร์ในความคิดของนักศึกษาคืออะไร
         ให้บอกมาหนึ่งประโยค
          ตอบว่า เด็กได้เรียนรู้จัก จำนวน  ลำดับ  ความสัมพันธ์ต่างๆของสิ่งของ
      2. นักศึกษาอยากรู้อะไรจากวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           ตอบว่า  ความหมาย , ความสำคัญ
                        หลักการการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
                        ทักษะและวิธีการการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
แบ่งออกเป็น  3  ส่วน คือ
1. การจัดประสบการณ์
2. คณิตศาสตร์ แบ่งเป็น  สาระ (เนื้อหา)  และ ประสบการณ์สำคัญ (ทักษะ)
3. เด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยตามทฤษฎีของพีเจย  แบ่งช่วงอายูออกเป็น
1. แรกเกิดถึง 2  ปี เด็กวัยนี้จะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  และ อยากรู้ อยากเห็น  สำรวจสิ่งรอบตัว
2. อายุ  2 - 6 ปี ช่วงอายุนี้จะแบ่งออกเป็น 2ช่วง
    อายุ  2 - 4 ปี  เริ่มมีภาษาขึ้น เช่น  การเรียกชื่อ พ่อ  แม่
    อายุ  4 - 6 ปี  ภาษาเริ่มพัฒนามากขึ้น เด็กเริ่มใช้เหตุผล
   หมายเหตุ  การอนุรักษ์การใช้เหตุ  อาจไม่ใช้สิ่งที่เห็นเสมอไป

วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
1. เด็กเรียนรู้ได้อยากอิสระเลือกเองได้
2. ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5